ผู้เขียน หัวข้อ: พระสมเด็จรุ่นไอ้กี้ หลวงพ่อแอ๋ว วัดหัวเมือง ปี 2516  (อ่าน 2616 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Adk System Advertising

ออฟไลน์ แรงโก้ ทะเลทราย

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • ขอบคุณ
  • -ให้: 0
  • -รับ: 0
  • กระทู้: 14
  • พลังน้ำใจ 0
พระสมเด็จรุ่นไอ้กี้ หลวงพ่อแอ๋ว วัดหัวเมือง สร้างปี พ.ศ 2516 สำหรับอภินิหารของพระรุ่นนี้ได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่หลวงพ่อยังไม่ได้ปลุกเสกเลยทีเดียว กล่าวคือในขณะที่ทำการตากพระรุ่นนี้เอาไว้และคงจะด้วยกลิ่นข้าวสุกและกล้วยน้ำว้าที่เป็นส่วนผสมอยู่ในองค์พระเป็นเหตุไอ้กี้หมาของหลวงพ่อจึงมาแอบกินไปบางส่วน หลังจากที่มันกินสมเด็จไปแล้วมันก็ไปไล่กัดเป็ดของชาวบ้านเจ้าของเป็ดเลยยิงด้วยลูกซองยาวจนไอ้กี้ล้มคว่ำล่วงคันนาแต่แล้วมันก็ลุกวิ่งของมันได้ต่อเพราะไม่มีกระสุนเม็ดไหนทำอะไรมันได้เลย เรื่องนี้ดูจะเป็นเรื่องราวที่ถูกกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง และถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่เป็นปฐมเหตุของชื่อพระรุ่นนี้ที่พากันเรียกจนติดปากว่า “สมเด็จรุ่นไอ้กี้”

www.sitluangporchua.com


ออฟไลน์ แรงโก้ ทะเลทราย

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • ขอบคุณ
  • -ให้: 0
  • -รับ: 0
  • กระทู้: 14
  • พลังน้ำใจ 0
เขียนค้นคว้าโดย ฝุ่นดิน ท้องถิ่นนิยม

   สมเด็จรุ่นนี้ถือได้ว่าเป็นสมเด็จรุ่นแรกที่หลวงพ่อท่านอนุญาติให้จัดสร้างด้วยความเต็มใจ ผู้ดำริสร้างมีเจตนาในการสร้างบริสุทธิ์ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงและจัดสร้างกันเองทุกๆขั้นตอนภายในวัด การจัดสร้างสมเด็จรุ่นแรกนี้เป็นการริเริ่มของพระสมุห์น้อย ซึ่งอดีตเคยได้รับตำแหน่งเป็นพระสมุห์ฐานานุกรมของหลวงพ่อแล้วลาสิกขาไป แต่ถึงแม้กลับมาบวชใหม่ผู้คนก็ยังนิยมเรียกสมุห์น้อยอยู่เช่นเดิม ในการขออนุญาติจัดสร้างพระพิมพ์สมเด็จในครั้งนี้เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้เป็นค่าอาหารเลี้ยงดูพระเณรเนื่องด้วยในสมัยนั้นวัดหัวเมืองจะมีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาปีละประมาณ ๔๐-๕๐รูปเป็นประจำทุกปีและเนื่องจากธรรมเนียมปฏิบัติในการทำบุญใส่บาตรของชาวบ้านในแถบนั้นจะใส่เฉพาะข้าวสุกอย่างเดียวส่วนกับข้าวเป็นหน้าที่ของพระเณรที่จะต้องหุงหาเอาเองยิ่งปริมาณพระเณรเพิ่มขึ้นมากเพียงใด ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ในด้านแบบพิมพ์ได้ทำการสอบถามจากหลวงตาสาน ปัญญาโภ(สุขวานนท์) ผู้ร่วมสร้างพระพิมพ์ชุดนี้ก็จำได้ไม่ชัดเจนว่ามีพิมพ์อะไรบ้าง พอจะคับคล้ายคับคลาว่าน่าจะ ๓ พิมพ์คือใหญ่ กลาง เล็กและเหมือนจะมีพิมพ์สายรุ้งอยู่ด้วยแต่เจ้าตัวก็ไม่ขอยืนยันเพราะผ่านมานานมาก ( ข้าพเจ้าวิเคราะห์เอาเองว่าพิมพ์สายรุ้งที่หลวงตาสานพูดถึงอาจจะเป็นสมเด็จสายรุ้งรุ่นแจกงานแต่งของนายเกรียงไกรในปี ๑๘ ก็เป็นได้ เพราะเทคนิคการทำเนื้อให้เป็นสีรุ้งไม่น่าทำกันเองได้ในสมัยนั้นและระยะเวลาการสร้างของสมเด็จทั้ง ๒ รุ่นนี้ใกล้เคียงกันคือสมเด็จรุ่นแรกที่กำลังกล่าวถึงนี้สร้างในปี ๑๖ ส่วนสมเด็จรุ่นเกรียงไกรออกในปี ๑๘) พิมพ์พระของสมเด็จรุ่นแรกนี้เท่าที่พบในกลุ่มลูกศิษย์ที่ชัดเจนที่สุดในขณะนี้มี ๓ พิมพ์คือ ๑.พิมพ์พระประธานซุ้มปรกโพธิ์ฐานผ้าทิพย์ ๒.พิมพ์ใหญ่ฐานสามชั้น ๓.พิมพ์เจ็ดชั้นหูบายศรี หลวงตาสาน ปัญญาโภ(สุขวานนท์)ผู้มีส่วนร่วมในการสร้างพระในครั้งนี้อธิบายขั้นตอนการทำพระว่าเริ่มจากการเสาะแสวงหารวบรวมว่านยาต่างๆตามบ้านที่เจ้าของเขาปลูกไว้ทั้งในแถบอำเภอหนองฉาง,ทัพทันและลานสัก ซึ่งกว่าจะได้ครบ ๑๐๘ชนิดก็ใช้เวลาเป็นแรมปีคือเริ่มเก็บตั้งแต่ปี ๒๕๑๕ และมาเสร็จสิ้นในปี ๒๕๑๖เมื่อได้ว่านยามาตามจำนวนที่ต้องการแล้วก็นำว่านทั้งหมดมาตากให้แห้งแล้วจึงนำมาตำให้ละเอียดและร่อนด้วยตะแกรงตาถี่เพื่อให้ได้มวลสารที่ละเอียดที่สุด หากมีกากเหลือก็นำไปตำและร่อนใหม่ทำอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งไม่มีเศษเหลือ ในการนี้นอกจากพระสมุห์น้อยและหลวงตาสานแล้วยังมีนายศักดิ์และนายยงค์หลานของสมุห์น้อยเป็นผู้ช่วยทำด้วยนายศักดิ์และนายยงค์มีหน้าที่ไปหาเก็บขี้ฝุ่นที่เกาะอยู่ตามขื่อบ้าน จะด้วยเหตุผลกลใดไม่ทราบ แต่สันนิษฐานว่าคงเป็นมวลสารที่มีความละเอียดสูงช่วยให้เนื้อพระแกร่งและมีความนุ่มเนียนมากขึ้น โดยไปเก็บมาจากบ้านของโยมกลอยซึ่งเป็นบ้านโบราณส่วนมวลสารที่เป็นของหลวงพ่อเช่นเกศา ข้าวก้นบาตรเศษจีวรและมวลสารที่มีคุณวิเศษอื่นๆสมุห์น้อยเป็นผู้รวบรวมจึงไม่ทราบรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง เมื่อได้มวลสารมาพร้อมแล้วก็นำมาตำรวมกันกับกล้วยดิบบ้างกล้วยสุกบ้างโดยจะใช้กล้วยและข้าวสุกเป็นตัวประสานเนื้อ ไม่ได้ใช้นำมันตั้งอิ้วพอตำเนื้อเข้ากันดีแล้วก่อนที่จะกดพิมพ์ต้องใช้แป้งโรยแม่พิมพ์ก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อพระติดแม่พิมพ์ แล้วจึงนำเนื้อผงกดลงไปในแม่พิมพ์คว่ำแม่พิมพ์ลงแล้วถูด้านที่เป็นด้านหลังขององค์พระกับแผ่นกระดานหรือแผ่นพลาสติกเพื่อให้เกิดความเรียบเนียนจึงเป็นข้อสังเกตของพระรุ่นนี้ได้อีกประการหนึ่งว่าด้านหลังของพระรุ่นนี้ต้องมีความเรียบเนียน หลังจากนั้นจึงเคาะองค์พระออกมาจากแม่พิมพ์เมื่อสำเร็จออกมาเป็นองค์พระในช่วงๆแรกนั้นยังไม่มีความรู้จึงนำพระไปผึ่งแดดกลางแจ้ง ก็ปรากฎว่าพระร้าวหักงอเสียหายแทบทั้งหมดจึงเปลี่ยนมาเป็นการผึ่งในร่มให้พอหมาดๆก่อน แล้วจึงนำออกไปตากแดดจึงได้พระที่มีความแห้งและสมบูรณ์ดี แต่เนื่องจากยังไม่มีความชำนาญในการทำพระผงอีกทั้งเป็นงานที่ทำด้วยมือในทุกๆขั้นตอน กว่าจะสำเร็จแต่ละองค์ต้องใช้เวลาพอสมควรบางองค์สวนผสมไม่พอเหมาะเคาะออกมาเปียกเกินไปบ้างแห้งเกินไปบ้าง ดังนั้นในการทำคราวๆหนึ่งจะได้พระที่เป็นองค์สมบูรณ์ดีได้ไม่มากนักหลวงตาสานเล่าว่าแม้ใช้ระยะเวลาในการทำอยู่เป็นแรมเดือนก็ได้พระที่สมบูรณ์ดีราวๆ ๕๐๐องค์เท่านั้น เมื่อทำเสร็จแล้วก็รวบรวมไปให้หลวงพ่อทำการปลุกเสกภายในกุฏิของท่านจนตลอดพรรษาจึงนำออกมาแจกจ่ายสำหรับอภินิหารของพระรุ่นนี้ได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่หลวงพ่อยังไม่ได้ปลุกเสกเลยทีเดียว กล่าวคือในขณะที่ทำการตากพระรุ่นนี้เอาไว้และคงจะด้วยกลิ่นข้าวสุกและกล้วยน้ำว้าที่เป็นส่วนผสมอยู่ในองค์พระเป็นเหตุไอ้กี้หมาของหลวงพ่อจึงมาแอบกินไปบางส่วน หลังจากที่มันกินสมเด็จไปแล้วมันก็ไปไล่กัดเป็ดของชาวบ้านเจ้าของเป็ดเลยยิงด้วยลูกซองยาวจนไอ้กี้ล้มคว่ำล่วงคันนาแต่แล้วมันก็ลุกวิ่งของมันได้ต่อเพราะไม่มีกระสุนเม็ดไหนทำอะไรมันได้เลย เรื่องนี้ดูจะเป็นเรื่องราวที่ถูกกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง และถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่เป็นปฐมเหตุของชื่อพระรุ่นนี้ที่พากันเรียกจนติดปากว่า “สมเด็จรุ่นไอ้กี้” อีกเรื่องหนึ่งที่หลวงตาสานอยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย วันนั้นมีโยมผู้หญิงคนหนึ่งมากราบหลวงพ่อ แล้วก็ขอวัตถุมงคลติดตัวหลวงพ่อหยิบสมเด็จรุ่นนี้มอบให้ ทันทีที่พระสมเด็จตกถึงมือของโยมผู้หญิงผู้นั้นไอ้กี้หมาคู่บุญของหลวงพ่อซึ่งมักจะอยู่ใกล้ชิดหลวงพ่ออยู่เสมอไม่รู้ว่ามันจะทดลองให้โยมเขาประจักษ์ในพุทธคุณพระสมเด็จของหลวงพ่อหรืออย่างไร มันจึงกระโจนกัดบริเวณหัวไหล่ของโยมผู้หญิงคนนั้นทันทีแต่ก็ไม่ปรากฎบาดแผลแต่อย่างไรทั้งๆที่ถ้าลองได้ไอ้กี้ขย้ำใครเข้าแล้วคมเขี้ยวของมันไม่เคยพลาดซักราย สมเด็จชุดนี้มีพิมพ์ทรงที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ ไม่ซ้ำกับสำนักใดใดเพราะไม่ได้ใช้วิธีการถอดพิมพ์ แต่จะเป็นฝีมือของท่านผู้ใดแกะแม่พิมพ์นั้นไม่สามารถสืบได้ แม้สมเด็จปรกโพธิ์พิมพ์พระประธานฐานผ้าทิพย์จะดูคล้ายกับสมเด็จปรกโพธิ์พิมพ์พระประธานฐานผ้าทิพย์ของสำนักอื่นๆที่นิยมสร้างในช่วงปี ๑๖-๑๗ ก็ตาม แต่ถ้าหากพิจารณารายละเอียดโดยแยบคายแล้วจะเห็นได้ว่าศิลปะเชิงช่างมีความแตกต่างจากสำนักอื่น โดยเฉพาะพิมพ์ปรกโพธิ์กับพิมพ์เจ็ดชั้นหูบายสีจะเห็นได้ว่าลักษณะการแกะลำพระองค์ วงพระกร พระพักตร์ พระเกศ ที่มีศิลปะเชิงช่างเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นพระสมเด็จชุดนี้จึงถือได้ว่ามีศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะบ่งบอกความเป็นวัดหัวเมืองได้อย่างชัดเจน สมเด็จพิมพ์พระประธานหลังยันต์ตรีนิสิงเหแบบนี้ถือว่าเป็นพระที่หาดูยากที่สุด ขนาดอ.ชัยยันต์และคุณเอหนองฉางเซียนพระพื้นที่รุ่นใหญ่ที่มีประสบการณ์สะสมพระเครื่องมาหลายสิบปี ยังเพิ่งพบเห็นองค์ของท่านจักรภพ อยู่สิงห์เป็นองค์แรก เจ้าของเล่าว่าเป็นมรดกตกทอดมาจากคุณพ่อซึ่งเป็นคนสนิทใกล้ชิดกับหลวงพ่อแอ๋วมาตั้งแต่ยุคบุกเบิก ยันต์ตรีนิสิงเหที่กดด้านหลังองค์พระนี้ พิจารณาแล้วเป็นยันต์เดียวกันกับยันต์ที่ใช้กดหลังพระสมเด็จวัดมฤคทายวัน(พิมพ์ยันต์ผิด) ซึ่งจะมีที่มาที่ไปอย่างไรนั้นไม่ทราบได้ แต่ต้องถือว่าเป็นกรณีพิเศษจริงๆ เพราะไม่ได้พบได้โดยทั่วไป (จนถึงขณะนี้ข้าพเจ้าเองเพิ่งเคยผ่านตาอยู่เพียงสามองค์เท่านั้น) ข้อมูลทั้งหมดนี้เสร็จสมบูรณ์ลงได้ก็ด้วยความร่วมมือช่วยเหลือจากพี่น้องชาวหนองฉางและผู้ที่เกี่ยวข้องหลายๆท่าน โดยเฉพาะพระอาจารย์ประสาน สุขวานนท์,คุณอัคเรศ. เจริญพะกุไพศาล(เอ หนองฉาง),อ.ชัยยันต์ บัวสาย,คุณศรัณย์ กมลมาลย์,กำนันสะอาด อุทัยเก่า,คุณจักรภพ อยู่สิงห์และท่านอื่นๆที่มิได้เอ่ยนามไว้ ณ ที่นี้...ขอบคุณครับ

www.sitluangporchua.com



Share me

Digg  Facebook  SlashDot  Delicious  Technorati  Twitter  Google  Yahoo
Smf