ผู้เขียน หัวข้อ: พระครูธวัชภัทราภรณ์ อาจารย์ต๊ะ อดีตเจ้าอาวาสวัดช้าง รูปที่ ๙  (อ่าน 2262 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Adk System Advertising

ออฟไลน์ ต้นบ้านนา

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิกใหม่
  • *
  • ขอบคุณ
  • -ให้: 1
  • -รับ: 17
  • กระทู้: 122
  • พลังน้ำใจ 18
  • 089-0115950
“พระครูธวัชภัทราภรณ์ หรือ พระอาจารย์ต๊ะ” อดีตเจ้าอาวาสวัดช้าง ซึ่งเป็นผู้สืบทอดตำนานการสร้าง “พระกริ่งใหญ่ วัดช้าง” อันลือลั่น เป็นที่รู้จักกันดีในวงการผู้ที่นิยมพระกริ่งในเมืองไทย ทั้งนี้พระกริ่งวัดช้างถือเป็นพระกริ่งที่มีความเป็นมาเกี่ยวพันกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์เทพวราราม

ท่านพระครูธวัชภัทราภรณ์ หรือพระอาจารย์ต๊ะ เข้าดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างลำดับ ที่ ๙ หลังจากที่พระจารย์ต๊ะ เข้ารับตำแหน่งแล้ว ก็ได้ดำริที่จะให้มีการจัดสร้างพระกริ่งใหญ่ของวัดช้าง ขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่มีเคยการจัดสร้างพระกริ่งใหญ่วัดช้างขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งการสร้างพระกริ่งใหญ่วัดช้างในครั้งนั้น เกิดขึ้นโดยท่านอาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร หรืออาจารย์หนู ได้กราบทูลขอท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ให้มีการสถาปนา จัดสร้างพระกริ่งวัดช้างขึ้นมา เพื่อหารายได้มาใช้ในการก่อสร้างโรงเรียนวัดช้าง ซึ่งองค์สมเด็จพระสังฆราช(แพ) ก็ทรงพระเมตตา ประทานอนุญาต ตามคำกราบทูลขอ และได้ดำเนินจัดสร้างขึ้น โดยกำหนดให้มีการเททองหล่อพระกริ่ง ขึ้นในวันเพ็ญกลางเดือนสิบสอง ปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ ซึ่งตรงวันประสูติของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) และทรงเสด็จพระดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธี ณ พระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ อีกด้วย

การจัดสร้างพระกริ่งใหญ่วัดช้าง ขึ้นอีกในครั้งนี้ แต่เดิมพระอาจารย์ต๊ะดำริที่จะจัดสร้างรูปหล่อจำลององค์หลวงพ่อดำซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยของวัดสุทัศน์ฯ ให้ประดิษฐานอยู่ที่วัดช้างเพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไปได้กราบไว้บูชา การจัดสร้างองค์หลวงพ่อดำนั้น อาจารย์ต๊ะ ได้ให้ช่างออกแบบขยายใหญ่ ขนาดหน้าตัก ๙ ศอก สูง ๑๓ ศอก แต่การจัดสร้างมีอุปสรรคมากมาย เริ่มตั้งแต่การปั้นหุ่นพระ ก็ต้องปั้นแล้วปั้นอีก เป็นเวลานานถึง ๒ ปีจึงสามารถปั้นจนแล้วเสร็จ แล้วจึงได้ทำพิธีเททองหล่อองค์หลวงพ่อดำ ซึ่งต่อมาพระเดชพระคุณพระวิสุทธาธิบดี เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ ประทานพระนามว่า “หลวงพ่อพระพุทธมหามุณีศรีวรเขตนายก สาธกสรรพมงคลมหาชนอภิปูชะนี”

เมื่อหลวงพ่อดำ สร้างแล้วเสร็จ ก็มีปัญหาตามมาเนื่องจากหลวงพ่อดำเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างวิหารครอบ แต่ยังขาดทุนทรัพย์อีกเป็นจำนวนมากในการก่อสร้าง พระอาจารย์ต๊ะจึงได้ตั้งจิตอธิฐานขอให้พบกับผู้มีบุญมีจิตศรัทธามาร่วมสร้างบุญกับท่าน

แล้วท่านก็สมความปรารถนา เมื่ออาจารย์ต๊ะได้พบกับพระวิสุทธาธิบดี เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ จึงได้ปรึกษาหารือถึงการก่อสร้างวิหารครอบหลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นช่วงที่ทางวัดสุทัศน์ฯ กำลังจะจัดสร้างพระกริ่งจักรพรรดิ เพื่อฉลองชนมายุ ๗๑ พรรษาของพระวิสุทธาธิบดี พระอาจารย์ต๊ะจึงได้ถวายตำราและแนะนำให้พระเดชพระคุณเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์เทพวราราม ได้ทำการเฉลิมพระนามพระพุทธเจ้า เพิ่มจากเดิมในสมัยกรมหลวงมรุพงษ์ศิริพัฒน์ รวมเป็น ๖๗๒ พระนาม ทั้งยังรับอาสาเป็นแม่งานในการจาร “พระนามแดง” ( เป็นภาบาลีขอม) ลงในใต้ฐานองค์พระกริ่งจักรพรรดิ

นอกจากนี้ยังได้ถวายมณฑลพิธีวัดช้างให้เป็นสถานที่เททองหล่อพระกริ่งจักรพรรดิ อีกทั้งพระอาจารย์ต๊ะ ยังได้ถวายชนวนมวลสาร แร่ธาตุของพระกริ่งรุ่นเก่าของวัดสุทัศน์ ที่ท่านอาจารย์หนู ผู้เป็นคุณตาเก็บรักษาไว้ ให้นำไปหล่อเป็นพระกริ่งจักรพรรดิ ซึ่งมีทั้งชนวนก้าน ชนวนแผ่นและชนวนเม็ด จำนวนเป็นกระสอบๆ

จนถึงวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ พุทธศักราช ๒๕๔๔ ณ ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช(แพ) คณะ ๖ วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นวันไหว้ครูของท่านอาจารย์นิรันดร์(หนู) ซึ่งในวันนั้นตรงกับวันสถาปนาพระกริ่งวัดช้าง (พ.ศ.๒๔๘๔) ซึ่งเป็นรุ่นแรก และยังตรงกับวันประสูติของสมเด็จพระสังราช(แพ) อีกด้วย โดยในวันนั้นพระวิสุทธาธิบดี ได้มีเมตตาอนุญาตให้พระอาจารย์จัดสร้างพระกริ่งวัดช้าง ขึ้นมาอีก ๑ รุ่น รวมทั้งมอบต้นแบบพิมพ์พระกริ่งใหญ่ ให้กับพระอาจารย์ต๊ะ และท่านอาจารย์หนูไปจัดสร้างพระกริ่งใหญ่วัดช้าง โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ

๑.เพื่อเป็นอนุสรณ์ครบรอบ ๖๐ ปี ที่อาจารย์นิรันดร์(หนู)ได้ทูลขอท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ให้มีการสถาปนาพระกริ่งวัดช้างขึ้น ณ.วัดสุทัศน์เทพวราราม พุทธศักราช ๒๔๘๔

๒. เพื่อมอบเป็นพุทธานุสรณ์ให้แก่พุทธศาสนิกชนที่ร่วมทำบุญ สนับสนุนการสร้างพระพุทธรูปใหญ่และวิหาร วัดช้าง

๓. เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา

ในค่ำคืนวันนั้นพระครูวัชภัทราภรณ์ หรือพระอาจาร์ต๊ะและพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคม ได้ร่วมกันการจารแผ่นพระยันต์ ๑๐๘ เพื่อเตรียมไว้ในการทำพิธีเททองหล่อพระกริ่งใหญ่วัดช้าง และมีพิธีพุทธาภิเษกน้ำทิพย์มนต์ ที่พระวิสุทธาธิบดีได้จัดถวายน้ำสรงรูปเหมือนท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ณ พระอุโบสถวันสุทัศน์เทพวราราม หลังเสร็จพิธี ได้มีการแจกน้ำทิพย์มนต์ในคืนศิวาราตรีนั้นให้แก่พุทธศาสนิกชนที่มาร่วมในพิธีกันเป็นจำนวนมากอีกด้วย

จากนั้นในวันที่ ๒๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๕ ตรงกับวันเสาร์ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเส็ง มงคลฤกษ์ ๑๘.๕๕ น.ได้ประกอบพิธีเททองหล่อพระกริ่งใหญ่วัดช้าง โดยทำพิธีเททองหล่อร่วมกับพิธีเททองหล่อพระกริ่งจักรพรรดิและเททองหล่อพระพุทธรูปใหญ่องค์หลวงพ่อดำ(ส่วนพระเกศ) ซึ่งมีพระเดชพระคุณพระวิสุทธาธิบดี เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นองค์ประธานในพิธี

เมื่อทำการเททองหล่อพระกริ่งใหญ่วัดช้างเรียบร้อยแล้ว จึงได้ทำการประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๕ โดยพระวิสุทธาธิบดี เป็นองค์ประธาน มีพระเถรานุเถระผู้ทรงวิทยาคมร่วมพิธีจำนวนมาก ซึ่งพระกริ่งใหญ่วัดช้างรุ่นนี้ได้ทำการบรรจุเกศาและผงพุทธคุณของพระเดชพระคุณพระวิสุทธาธิบดีไว้ทุกองค์ มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๕๔๕ องค์ แบ่งเป็นแบบก้นถ้วย ๕๖๐ องค์ และก้นเรียบ ๑๙๘๕ องค์

หลังจากเสร็จพิธีพุทธาภิเษก แล้วมีการเปิดให้ประชาชนบูชา ปรากฏว่าได้มีคลื่นประชาชนจำนวนมาก ต่างหลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศเพื่อเช่าบูชาพระกริ่งใหญ่ จนบริเวณวัดและบริเวณใกล้เคียงเนืองแน่นไปด้วยศาสนิกชน นับเป็นเหตุการณ์สำคัญอีกครั้งหนึ่งที่ได้มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของวัดช้าง

เมื่อองค์จำลองพระพุทธรูปใหญ่(หลวงพ่อดำ)ได้มีการหล่อเสร็จสมบูรณ์ จากเงินรายได้ในการให้บูชาพระกริ่งใหญ่วัดช้าง อันถือเป็นความภาคภูมิใจและเป็นวาระอันเป็นมหากุศลอย่างยิ่งของพระอาจารย์ต๊ะ หรือ พระครูธวัชภัทราภรณ์ ที่ได้ตั้งมั่นในการดำเนินการจัดสร้าง จึงเป็นเสมือนการยกภูเขาออกจากอก จนท่านถึงกับเคยเอ่ยปากกับคนใกล้ชิดว่า “ภาระเสร็จแล้ว สบายแล้ว จะไปแล้ว จะไปพักผ่อนแล้ว ” ซึ่งหลังจากที่ท่านพระอาจารย์ปรารภเพียงไม่กี่วัน คือวันที่ ๒๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕ ท่านก็เดินทางไปอย่างสงบด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน สิริรวมอายุได้ ๓๔ ปี โดยทิ้งผลงานและคุณงามความดีไว้ให้ลูกศิษย์ลูกหาได้กราบไหว้มาจนปัจจุบันนี้

เมื่อท่านพระอาจารย์ต๊ะมรณภาพลงแล้ว คณะกรรมการวัดช้างและลูกศิยษ์ที่เคารพนับถือ จึงได้ตกลงร่วมกันให้เก็บสังขารของท่านบรรจุไว้ในโลงศพ แล้วทำพิธีสวดพระอภิธรรมติดต่อกันตลอดมา เป็นเวลานานเกือบ ๕ ปี และมีกำหนดพระราชทานเพลิงศพในวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ แต่ก่อนจะถึงกำหนดวันพระราชทานเพลิง คือวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ คณะกรรมการและลูกศิษย์ของท่านจึงได้ทำพิธีเปิดโลงศพของท่าน แล้วทุกคนก็ต้องตกตะลึง เมื่อพบว่าสังขารของพระอาจารย์ต๊ะที่นอนสงบนิ่งอยู่ในโลงมานานกว่า ๔ ปี กลับไม่เน่าเปื่อย หรือมีกลิ่นเหม็นแต่อย่างใด ร่างของท่านเพียงแค่แห้งไปเท่านั้น

ท่านพระครูสังฆรักษ์(เสนาะ)เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน จึงได้นำแผนทองคำเปลวมาปิดที่ใบหน้าของพระอาจารย์ต๊ะ และเปิดให้ประชาชนเข้ามาสักการะบูชา เมื่อข่าวแพร่กระจายออกไป บรรดาผู้ที่เคารพนับถือต่างเดินทางมากราบสังขารของท่านกันเป็นจำนวนมาก

ซึ่งทางวัดก็ได้จัดให้ประชาชนเข้ามากราบไหว้เป็นเวลา ๑ วัน รุ่งขึ้นวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ เวลา ๑๖.๐๐ น.จึงได้ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพท่านพระครูธวัชภัทราภรณ์ ท่ามกลางประชาชนผู้มีจิตเคารพศรัทธาในองค์พระอาจารย์มาร่วมในพิธีนับหมื่นคน

www.sitluangporchua.com


ออฟไลน์ ต้นบ้านนา

  • ที่ปรึกษาเว็บไซต์
  • สมาชิกใหม่
  • *
  • ขอบคุณ
  • -ให้: 1
  • -รับ: 17
  • กระทู้: 122
  • พลังน้ำใจ 18
  • 089-0115950
 :D

www.sitluangporchua.com



Share me

Digg  Facebook  SlashDot  Delicious  Technorati  Twitter  Google  Yahoo
Smf