ผู้เขียน หัวข้อ: มงคลชีวิตสามสิบแปดประการ ........ ประการที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล  (อ่าน 1575 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Adk System Advertising

ออฟไลน์ ~<บอล อุทัย>~

  • Line ID 0863060344
  • เว็บมาสเตอร์
  • Hero Member
  • *****
  • ขอบคุณ
  • -ให้: 3400
  • -รับ: 4570
  • กระทู้: 4108
  • พลังน้ำใจ 4694
    • ร้านพระเครื่องบอล อุทัย (พระเครื่องหลวงพ่อเชื้อ)
มงคลชีวิตสามสิบแปดประการ ........ ประการที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล



"กระจกเงาสามารถสะท้อนให้เห็นความสวยงาม หรือขี้ริ้วของร่างกายเราได้ฉันใด การฟังธรรมตามกาล ก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความดีงามหรือความบกพร่องในตัวเราได้ฉันนั้น"



การฟังธรรมตามกาลหมายถึงอะไร ?
 การฟังธรรมตามกาล คือ การขวนขวายหาเวลาไปฟังธรรมคำสั่งสอนจากผู้มีธรรมะ เพื่อยกระดับจิตใจและสติปัญญาให้สูงขึ้น โดยเมื่อฟังธรรมแล้วก็น้อมเอาคุณธรรมเหล่านั้นมาเป็นกระจกสะท้อนดูตนเองว่า มีคุณธรรมนั้นหรือไม่ จะปรับปรุงคุณธรรมที่มีอยู่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปได้อย่างไร
 เช่นเมื่อได้ฟังธรรมเรื่องความอดทนแล้ว ก็นำเรื่องนี้มาตรวจดูใจตนเองทันทีว่า เรามีความอดทนไหม ถ้ามี มีมากน้อยเพียงไร อดทนหรือไม่อดทนต่อสิ่งใดเช่น อดได้เหมือนกัน แต่ไม่ค่อยทน คือ อดข้าวอดปลาได้ แต่ทนต่อการยั่วยุ ทนต่อคำนินทาไม่ได้ อย่างนั้นหรือเปล่า เมื่อฟังธรรมแล้วตรวจดูจะรู้ทันทีว่า เราขาดอะไรไป จะตกแต่งต่อเติมอย่างไรจึงจะดี

กาลที่ควรฟังธรรม
 ๑.วันธรรมสวนะ คือ วันพระนั่นเอง เฉลี่ยประมาณ ๗ วันครั้ง ทั้งนี้เพราะธรรมดาคนเรา เมื่อได้ฟังเทศน์ ฟังธรรม ฟังคำสั่งสอนตักเตือน จากพ่อแม่ ครูอาจารย์ ใหม่ๆ ก็ยังจำได้ดีอยู่ แต่พอผ่านไปสัก ๗ วันชักจะเลือนๆ ครูอาจารย์บอกให้ขยันเรียน ขยันไปได้ไม่กี่วันชักจะขี้เกียจอีกแล้ว เพราะฉะนั้น ๗ วัน ก็ไปให้ท่านกระหนาบ ย้ำเตือนคำสอนเสียครั้งหนึ่ง
 ๒.เมื่อจิตถูกวิตกครอบงำ คือ เมื่อใดก็ตามที่มีความคิดไม่ดีเกิดขึ้นในใจของเรา ทำให้ใจขุ่นมัว เศร้าหมอง ฟุ้งซ่าน เมื่อนั้นให้รีบเร่งไปฟังธรรม จะเช้า จะสาย จะบ่าย จะเย็น วันโกน วันพระ หรือวันอะไรก็ตาม ไม่เกี่ยงทั้งนั้น ไม่ต้องรอ
 ความคิดที่ทำให้ใจของเราเศร้าหมอง แบ่งได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ ได้แก่
     ๒.๑เมื่อกามวิตกกำเริบ คือ เมื่อใจของเราฟุ้งซ่านด้วยเรื่องเพศ เรื่องรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ห่วงหาอาลัยอาวรณ์ต่อสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ
     ๒.๒ เมื่อพยาบาทวิตกกำเริบ คือ เมื่อใจของเราถูกความโกรธเข้าครอบงำ เกิดความรู้สึกอยากล้างผลาญ ทำลายผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการคิดผลาญทรัพย์ ผลาญชีวิต หรือผลาญเกียรติยศ ศักดิ์ศรีก็ตาม
     ๒.๓ เมื่อวิหิงสาวิตกกำเริบ คือ เมื่อใดที่ใจของเราเกิดความคิดอยากจะเบียดเบียนผู้อื่น คิดจะเอาเปรียบ คิดจะกลั่นแกล้งรังแกเขา
 เมื่อใดที่ความคิดทั้ง ๓ ประเภทนี้เกิดขึ้นให้รีบไปฟังธรรม อย่ามัวชักช้า มิฉะนั้น อาจไปทำผิดพลาดเข้าได้
 ๓.เมื่อมีผู้รู้มาแสดงธรรม คือ เมื่อมีผู้มีความรู้มีความสามารถและมีธรรม มาแสดงธรรมให้รีบไปฟัง เพราะบุคคลเช่นนี้หาได้ยากในโลก ต้องรอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลกก่อน  แล้วต้องตั้งใจศึกษาธรรมของพระองค์ให้เข้าใจแตกฉาน เท่านั้นยังไม่พอ จะต้องมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้อีกด้วย ดังนั้นเมื่อมีโอกาสเช่นนี้ เราต้องรีบไปฟังธรรมจากท่าน
คุณสมบัติของผู้แสดงธรรมที่ดี  “อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง ไม่ใช่ของง่ายเลยผู้ที่จะแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง จะต้องอยู่ในธรรมะถึง ๕ ประการ”  นี่คือพุทธวจนะที่ตรัสแก่พระอานนท์ ถึงคุณสมบัติของผู้แสดงธรรมที่ดี ๕ ประการคือ
 ๑.ต้องแสดงธรรมไปตามลำดับของเรื่องไม่วกวน ไม่กระโดดข้ามขั้นข้ามตอน แสดงธรรมลุ่มลึกไปตามลำดับ ซึ่งผู้ที่จะแสดงเช่นนี้ได้จะต้อง
     ๑.๑มีความรู้จริง รู้เรื่องที่จะเทศน์จะสอนดีพอที่จะทราบว่าอะไรควรพูดก่อน อะไรควรพูดทีหลัง
     ๑.๒ มีวาทศิลป์ มีความสามารถในการพูด มีจิตวิทยาในการถ่ายทอด รู้สภาพจิตใจ ของผู้ฟังว่าควรรู้อะไรก่อน อะไรหลัง
     ๑.๓ ต้องมีการเตรียมการ วางเค้าโครงเรื่องที่จะแสดงล่วงหน้าทำอะไร มีแผน ไม่พูดเบา ไม่ใช่เทศน์ตามอำเภอใจ
 ต้องมีองค์ประกอบ ๓ อย่างนี้ จึงจะแสดงธรรมลุ่มลึกไปตามลำดับได้
 ๒.ต้องแสดงธรรมอ้างเหตุอ้างผลให้ผู้ฟังเข้าใจได้ ผู้แสดงจะต้องเข้าใจเรื่องที่จะแสดงอย่างปรุโปร่ง ไม่ใช่ท่องจำเขามาพูด เวลาแสดงธรรมก็อ้างเหตุอ้างผล ยกตัวอย่างประกอบ แยกแยะให้เห็นอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งได้ เมื่อผู้ฟังสงสัยซักถามจุดไหน ประเด็นไหนก็ชี้แจงให้ฟังได้
 ๓.ต้องแสดงธรรมด้วยความหวังดีต่อผู้ฟังอย่างจริงใจ มีความเมตตากรุณาอยู่เต็มเปี่ยมในใจ พูดไปแล้วผู้ฟังยังไม่เข้าใจ ยังตามไม่ทัน สติปัญญายังไม่พอ ก็ไม่เบื่อหน่าย ไม่ละทิ้งกลางคัน แม้จะพูดซ้ำหลายครั้งก็ยอม มีความหวังดี ต้องการให้ผู้ฟังรู้ธรรมจริงๆ มุ่งทำประโยช์แก่ผู้ฟังเต็มที่ ไม่ใช่พูดแบบขอไปที
 ๔.ต้องไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ คือไม่เห็นแก่ชื่อเสียงคำสรรเสริญเยินยอ ลาภสักการะ เพราะฉะนั้นไม่ว่าการแสดงธรรมนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ จะมีคนมาฟังมากน้อยเท่าไร ก็ไม่ถือเป็นอารมณ์แสดงธรรมอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ว่างานของคนใหญ่คนโตก็แสดงอย่างเต็มที่แต่งานของคนกระจอกงอกง่อย ก็แสดงกะล่อมกะแล่มไม่เป็นเรื่องเป็นราว ไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าผู้ใดแสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ ผู้นั้นก็เป็นเพียงลูกจ้างของคนฟัง กระแสเสียงที่แสดงก็มักจะเต็มไปด้วยการประจบประแจงเจ้าภาพซึ่งเป็นนายจ้าง ลงได้เอาอามิสมาเป็นเจ้าหัวใจแล้วละก็เป็นใช้ไม่ได้ทีเดียว
 ๕.ต้องไม่แสดงธรรมกระทบตนเองหรือผู้อื่น คือ ไม่ฉวยโอกาสยกตัวอย่างความดีของตัวเองเพื่อโอ้อวด หรือยกความผิดพลาดของคนอื่นเป็นตัวอย่างเพื่อประจานความผิดของเขา ไม่ใช่ถือว่ามีไมโครโฟนอยู่ในมือ ก็คุยอวดตัวทับถมคนอื่นเรื่อยไป ผู้พูดต้องมุ่งอธิบายธรรมะจริงๆ หากจะยกตัวอย่างเรื่องใดประกอบ เพื่อเป็นข้อสนับสนุนให้ผู้ฟังเข้าใจข้อธรรมะที่แสดง ก็ต้องระวังไม่ให้ผู้อื่นเสียหาย การฉวยโอกาสเวลาแสดงธรรมใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นเป็นการกระทำผิดแบบฉบับของศาสนาพุทธ
 เราจะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงวางวิธีการเผยแผ่ศาสนาของพระองค์ไว้อย่างรอบคอบ  แทนที่จะมุ่งแต่แผ่อิทธิพลศาสนาของพระองค์และทับถมโจมตีศาสนาอื่น กลับทรงวางคุณสมบัติควบคุมผู้ทำการสอนศาสนาไว้อย่างรัดกุม ซึ่งหาดูได้ยากในศาสนาอื่นๆ

คุณสมบัติของผู้ฟังธรรมที่ดี
 ๑.ไม่ดูแคลนหัวข้อธรรมที่ท่านแสดงว่าง่ายไป  “โถ เรื่องง่ายๆ อย่างนี้ ท่านสอนคนอย่างเรา เราก็เข้าวัดมาตั้งนานแล้ว เหมือนดูถูกกันนี่”  อย่าคิดอย่างนั้น เพราะธรรมะทุกบท ทุกข้อในพระพุทธศาสนามีอานิสงส์ว่า ถ้าใครเอาไปปฏิบัติจริงๆ อย่างยิ่งยวด แม้เพียงข้อเดียวแล้ว ก็สามารถทำกิเลสให้หมด เข้าพระนิพพานได้ทั้งสิ้น เช่นการไม่คบคนพาล ซึ่งเป็นธรรมะขั้นพื้นฐาน แต่ถ้าเราไม่คบคนพาลจริงๆ โดยเฉพาะพาลภายใน คือนิสัยไม่ดีต่างๆ ในตัว ไม่ยอมคบด้วยตัดทิ้งให้เด็ดขาด ก็เข้าพระนิพพานได้ หรือหิริโอตตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ถ้าเรามีคุณธรรมข้อนี้อย่างเต็มที่ สิ่งใดที่เป็นบาปแม้เพียงน้อยนิดก็ไม่ยอมคิด พูด หรือทำโดยเด็ดขาด สร้างแต่บุญกุศลอย่างเต็มที่ อย่างนี้ถ้าไม่ให้เข้าพระนิพพาน แล้วจะให้ไปไหน
 ๒.ไม่ดูแคลนความรู้ความสามารถของผู้แสดงธรรม  “โถพระเด็กๆ เรานี่หลวงปู่หลวงตาเทศน์มาตั้งเยอะแล้วมาฟังพระเด็กๆ มันจะไปได้อะไร”  อย่าคิดอย่างนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเตือนไว้สิ่งต่อไปนี้อย่าดูแคลน
     ๒.๑ อย่าดูถูกไฟว่าเล็กน้อย เพราะมันเผาเมืองได้
     ๒.๒ อย่าดูถูกงูพิษว่าตัวเล็ก เพราะกัดแล้วตายได้
     ๒.๓ อย่าดูถูกกษัตริย์ว่ายังเยาว์ เพราะกษัตริย์บางพระองค์แม้อายุยังน้อย ก็ เป็นมหาราชได้ เช่น อเล็กซานเดอร์มหาราช เป็นมหาราชตั้งแต่อายุ ๒๐ เศษ ปกครองถึงค่อนโลก
     ๒.๔ อย่าดูถูกสมณะว่ายังหนุ่ม เพราะสมณะบางรูปแม้อายุยังน้อยก็มีคุณธรรมสูง บางรูปอายุแค่ ๗ ขวบก็เป็นพระอรหันต์แล้ว
 ๓.ไม่ดูแคลนตัวเองว่าโง่จนไม่สามารถรองรับธรรม  “โถ ไอ้เรามันโง่ดักดานอย่างนี้ กิเลสในตัวก็หนาปึ้กถึงไปฟังธรรมก็คงไม่รู้เรื่องไม่ไปดีกว่า”  อย่าคิดอย่างนั้น เพราะถึงแม้สติปัญญาจะไม่เฉลียวฉลาด แต่ถ้ามีโอกาสเหมาะๆ แล้ว ก็อาจบรรลุธรรมได้ ในสมัยพุทธกาลมีตัวอย่างอยู่มาก พระบางรูปปัญญาทึบมาก ธรรมะแค่ ๔ บรรทัด ท่องจำเป็นปีๆ ยังท่องไม่ได้แต่มีความเพียรไม่ย่อท้อ พอสบโอกาสเหมาะได้ฟังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรม และแนะนำวิธีการทำสมาธิให้โดยแยบคาย พอปฏิบัติตามก็สำเร็จมรรคผลนิพพาน เป็นพระอรหันต์ได้ ตัวเราเองก็ไม่แน่ มีโอกาสเหมือนกัน หรืออย่างน้อยที่สุด ถึงฟังธรรมยังไม่เข้าใจในขณะนี้ ก็จะเป็นอุปนิสัยติดตัวไปภายหน้าเมื่อได้ฟังซ้ำอีก ก็จะเข้าใจได้ง่าย
 ๔.มีใจเป็นสมาธิขณะฟังธรรม ฟังธรรมด้วยความตั้งใจขณะฟังธรรมไม่พูดคุย ไม่ล้วงแคะแกะเกา เพราะในการฟังธรรมนั้น ยิ่งมีใจเป็นสมาธิมากเท่าไร ก็สามารถน้อมนำใจตามไป เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมะได้มากเท่านั้นในสมัยพุทธกาล เวลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศนาในเรื่องสำคัญๆ ที่ละเอียดลึกซึ้ง จะทรงหลับพระเนตรเทศน์ในสมาธิ ผู้ฟังก็จะหลับตาทำสมาธิฟังจึงสามารถน้อมใจไปตามธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้งลุ่มลึกไปตามลำดับ ได้สำเร็จมรรคผลนิพพานกันเป็นจำนวนมาก พวกเราก็ต้องตั้งใจฟังธรรม ฝึกให้มีสมาธิขณะฟังธรรม ตามแบบอย่างของบัณฑิตทั้งหลายในกาลก่อนด้วย
 ๕.มีโยนิโสมนสิการ คือ รู้จักพิจารณาตามธรรมนั้นอย่างแยบคาย พอฟังแล้วก็คิดตามไปด้วย รู้จักจับแง่มุมมาพิจารณาขบคิดตามทำให้มีความแตกฉานเข้าใจในธรรมได้เร็วและลึกซึ้ง

อุปนิสัยจากการฟังธรรม
 อุปนิสัย หมายถึง ความประพฤติ ความเคยชิน ที่ติดตัวเรามา และจะติดตัวเราไปเป็นพื้นใจในภายหน้า
 การฟังธรรมจะทำให้เกิดความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในใจเราแล้วเป็น เครื่องอุดหนุนให้เรามีความเจริญรุ่งเรืองและเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ผู้ที่หมั่นฟังธรรม แล้วพยายามศึกษาทำความเข้าใจ ถึงไม่เข้าใจก็พยายามจำ จะได้รับอานิสงส์ ๔ ประการคือ
     ๑.เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น ย่อมมีปัญญารู้ธรรมได้เร็วสามารถระลึกได้ด้วยตนเอง และปฏิบัติตามธรรมนั้น บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว
     ๒.เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น เมื่อรู้ธรรมแล้ว ก็สามารถสั่งสอนคนอื่นได้ด้วย ตนเองก็บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว
     ๓.เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น แม้จะยังระลึกธรรมเองไม่ได้ แต่เมื่อมีผู้แสดงธรรมให้ฟัง ก็ย่อมระลึกได้ มีความเข้าใจปรุโปร่ง ไม่คลางแคลงสงสัยทำให้ สามารถบรรลุมรรคผลนิพานได้เร็ว เหมือนคนที่เคยได้ยินเสียงกลองมาแล้ว พอเดินทางไปในที่ไกล แล้วได้ยินเสียงกลองอีก ก็รู้ทันทีว่านั่นเสียงกลอง ความคลางแคลงสงสัยว่านั่นใช่เสียงกลองหรือไม่ ย่อมจะไม่เกิดชึ้นแก่บคคลนั้น
     ๔.เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น แม้จะยังระลึกธรรมเองไม่ได้ และไม่มีผู้แสดงธรรม แต่เมื่อมีผู้ตักเตือนด้วยคำเพียงไม่กี่คำหรือแม้บางครั้งได้ยินโดยบังเอิญ ก็ทำให้สามรถระลึกธรรมได้และมีความเข้าใจ สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว
 พวกเราที่สวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นกันบ่อยๆ แม้ยังไม่เข้าใจความหมายของคำบาลี แต่ก็ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เกิดความสงบทางใจ และเกิดความคุ้นเคยในสำเนียงภาษาธรรมะ ภพเบื้องหน้า ได้ยินใครสวดมนต์ก็อยากเข้าใกล้ ได้ยินใครพูดธรรมะก็อยากเข้าใกล้ ทำให้มีโอกาสได้ฟังธรรม ฟังแล้วก็เข้าใจได้ง่าย เพราะอุปนิสัยพื้นใจมาแต่เดิมแล้ว ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว

 อานิสงส์การฟังธรรมตามกาล
 ๑.เป็นการเพิ่มพูนความรู้ใหม่ เพราะผู้แสดงธรรมย่อมจะศึกษา ค้นคว้า ขบคิด นำข้อธรรมะต่างๆ มาแสดง ทำให้เราได้ยินได้ฟังธรรมะที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน
 ๒.เป็นการทบทวนความรู้เดิม คือ ถ้าหัวข้อธรรมที่ผู้แสดงนำมาแสดงนั้น ตรงกับสิ่งที่เราเคยศึกษามาแล้ว ก็จะทำให้เราได้ทบทวนความรู้เดิม ให้เกิดความเข้าใจแตกฉาน สามารถจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น
 ๓.เป็นการปลดเปลื้องความสงสัยเสียได้ คือ ถ้าผู้ฟังยังมีความลังเลสงสัยในการละความชั่วบางอย่าง หรือการทำความดีบางอย่าง เมื่อได้ฟังธรรมะเพิ่มเติมแล้ว จะทำให้ความลังเลสงสัยนั้นหมดไป ตัดสินใจละความชั่วทำความดีง่ายขึ้น
 ๔.เป็นการปรับความเห็นให้ตรง คือ ในระหว่างการดำเนินชีวิตสู่จุดหมายของคนเรานั้น เราจะถูกมาร คือ กิเลสและสิ่งแวดล้อมไม่ดีต่างๆ ทำให้มีความคิดเห็นผิดๆ เกิดขึ้นได้ แล้วทำให้การดำเนินชีวิตวกวน เฉไฉผิดเป้าหมายไป การฟังธรรมจะช่วยให้เราเกิดความสำนึกตัวว่า ความคิดเห็นของเราได้บิดเบือนไปอย่างไร แล้วจะได้เลิกความเห็นที่ผิดเสียประคองความเห็นที่ถูกไว้
 ๕.เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สูงขึ้น คือ การฟังธรรมจะเป็นเครื่องเตือนสติเรา ทำให้ใจของเราเลิกละจากความคิดฟุ้งซ่านในเรื่องกาม ความคิดพยาบาทอาฆาต ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น และสอดส่องชี้ให้เราเห็นถึงจุดอ่อนข้อบกพร่องในตัว ซึ่งจะต้องปรับปรุแก้ไข ยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้นๆ จนกระทั่งสามารถขจัดข้อบกพร่องได้เด็ดขาด บรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด 

"ดูก่อน ท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย สมัยใด พระอริยสาวกฟังธรรม ฟังให้จดระดูก ฝังไว้ในใจ รวบรวมกำลังใจทั้งหมดมา เงี่ยหูลงมาฟังจริงๆ ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ของเธอย่อมไม่มี และโพชฌงค์ ๗ ก็จะถึงซึ่งความสมบูรณ์เต็มเปี่ยม เพราะอำนาจแห่งภาวนา "

(พุทธพจน์)


ขอบคุณ http://www.96rangjai.com
พระเครื่อง วัตถุมงคลของหลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ราคาถูกกว่าความเป็นจริงมาเกือบสามทศวรรษ ผู้ที่มองการณ์ไกลมองเห็นของดี ก็หยิบกันเกลี้ยงตลาด มาบัดนี้ราคาขยับแลแพงด้วยเหตุ มีคนพูดถึงกันมาก ก็หาตามกันแห่ ขอเตือนก่อนหมดราคาจะยิ่งแพง และไปไกลยิ่งกว่านี้ เขียนแจ้งไว้ หากเชื่อก็เสาะหาตามร้านที่เป็นสหพันธมิตรกัน ไม่ต้องเช่าหาที่ร้านในเว็บไซต์นี้ก็ได้ ด้วยแจ้งจากใจจริง ไม่ใช่ร้องเพื่อขายของในเว็บไซต์ จงรีบทำ....ขอเตือน

www.sitluangporchua.com


ออฟไลน์ wanghin66

  • Sr. Member
  • ****
  • ขอบคุณ
  • -ให้: 2471
  • -รับ: 2174
  • กระทู้: 1802
  • พลังน้ำใจ 2257
    • วังหิน66

ออฟไลน์ ต้นบางบ่อ

  • Full Member
  • ***
  • ขอบคุณ
  • -ให้: 703
  • -รับ: 367
  • กระทู้: 684
  • พลังน้ำใจ 384
  • เราทุกคน .. ต่างมี "เวลา" เท่ากัน
 :-* :-* ขอบคุณครับ  :-* :-*
"สิ่งที่ทำให้เราหมดเรี่ยวหมดแรงนั้น หาใช่ภูผาที่ตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหน้าไม่ หากแต่เป็นทรายเม็ดเล็กๆ เม็ดหนึ่งในรองเท้าของเราเอง"

www.sitluangporchua.com



Share me

Digg  Facebook  SlashDot  Delicious  Technorati  Twitter  Google  Yahoo
Smf