ผู้เขียน หัวข้อ: มงคลชีวิตสามสิบแปดประการ ........ ประการที่ ๑๖ ประพฤติธรรม  (อ่าน 1572 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Adk System Advertising

ออฟไลน์ ~<บอล อุทัย>~

  • Line ID 0863060344
  • เว็บมาสเตอร์
  • Hero Member
  • *****
  • ขอบคุณ
  • -ให้: 3400
  • -รับ: 4570
  • กระทู้: 4108
  • พลังน้ำใจ 4694
    • ร้านพระเครื่องบอล อุทัย (พระเครื่องหลวงพ่อเชื้อ)
มงคลชีวิตสามสิบแปดประการ ........ ประการที่ ๑๖ ประพฤติธรรม



"ไม้จันทร์ แม้แห้ง  ยังไม่สิ้นกลิ่นหอม
อ้อยแม้ถูกหีบ  ยังไม่สิ้นรสหวาน
เกลือแม้ถูกสะตุ  ยังไม่สิ้นรสเค็ม
บัณฑิตแม้ตกทุกข์ ยังไม่เลิกประพฤติธรรม"




การประพฤติธรรมคืออะไร?
 การประพฤติธรรม คือ การประพฤติตนให้อยู่ในกรอบของความถูกต้องและความดี ทั้งปรับปรุงพฤติกรรมของตนให้ดีสมกับที่เกิดเป็นคนและให้มีความเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียง
 เราจะเห็นได้ว่า การประพฤติธรรมนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นมงคลที่ ๑๖ ก่อนมงคลที่ ๑๗ และ ๑๘ คือ การสงเคราะห์ญาติ และการทำงานไม่มีโทษ
 เหตุที่พระองค์ทรงวางลำดับมงคลว่าด้วยการประพฤติธรรมไว้ตรงนี้ก็เพราะในการสงเคราะห์ญาติและการทำงานไม่มีโทษ ซึ่งเป็นการทำงานเพื่อส่วนรวมนั้น เราต้องมีการทำงานติดต่อกับคนจำนวนมาก ซึ่งมีอัธยาศัยต่างๆกันไป ถ้าไม่ระมัดระวังให้ดีแล้ว โอกาสที่จะกระทบกระทั่งกันก็มีมาก โอกาสที่เราจะทำให้งานเสียเพราะขาดความเป็นธรรมก็มีมากเช่นกัน
 ดังนั้น ก่อนทำงานเพื่อส่วนรวมจึงต้องประพฤติธรรม เพื่อเป็นการปรับปรุงตนให้พร้อมที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างผาสุก ไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและผู้อื่น ซึ่งได้แก่การประพฤติปฏิบัติตน ๒ ลักษณะควบคู่กันไป ได้แก่
 ๑. ประพฤติเป็นธรรม
 ๒. ประพฤติตามธรรม

 ประพฤติเป็นธรรม คือ มีความเที่ยงธรรม มีความยุติธรรม
 ความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของสังคมนั้น ขึ้นอยู่กับหลักธรรมอย่างหนึ่ง คือ “ความยุติธรรม” สังคมใดก็ตามแม้จะมีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์มั่นคั่งบริบูรณ์ แต่ถ้าขาด “ความยุติธรรม” เสียอย่างเดียว สังคมนั้นก็จะมีแต่ความเดือดร้อยวุ่นวาย
 เพราะขาดความยุติธรรม ครอบครัวจึงแตกสลาย
 เพราะขาดความยุติธรรม บ้านเมืองจึงเกิดปฏิวัติรัฐประหาร
 เพราะขาดความยุติธรรม สงครามระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้น
 ความยุติธรรม คือ การกระทำที่ชอบด้วยเหตุผลนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกหนทุกแห่ง มีบางคนเข้าใจว่า ความยุติธรรมเป็นเรื่องมาจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เป็นผู้ให้ ตนเป็นผู้รับ ความเข้าใจเช่นนี้ผิด อันที่จริงความยุติธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนจะต้องให้แก่กัน
 เราจึงต้องฝึกตนเองให้เป็นคนที่ปฎิบัติต่อผู้อื่นอย่างชอบด้วยเหตุผลมีความยุติธรรมไม่ลำเอียงเพราะอคติ 4 ประการ ดังต่อไปนี้

 ๑. ไม่ลำเอียงเพราะรัก เช่น ถึงจะรักนาย ก มากเพียงใดก็ตามแต่ถ้าไม่มีผลงานดีเด่นก็ต้องยกย่องคนอื่นที่มีความสามารถดี กว่าขึ้นมาไม่เห็นแก่หน้าข้อนี้รวมถึงการไม่เป็นคนโลภ ไม่รักทรัพย์สมบัติมากจนยอมเสียความเป็นธรรม
 ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง คือ ถึงจะเกลียดหรือไม่ชอบใครเป็นเรื่องส่วนตัว ก็ไม่นำมาปนกับงานซึ่งเป็นเรื่องส่วนรวม หากเขาทำความดีก็ต้องปูนบำเหน็จรางวัลให้เช่นเดียวกับคนอื่น ไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง
 ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง คือ เป็นคนมีปัญญา หูตากว้างไกล รู้เท่าทันคน ไม่โง่ ใครๆไม่สามารถหลอกลวงได้ ไม่เป็นผู้ใหญ่ชนิด ลงโทษผู้น้อยโดยที่ไม่ได้ไต่สวนความผิดให้ชัดเจนก่อน เป็นต้น
 ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัวภัย คือ มีใจอาจหาญไม่หวั่นไหว ไม่เกรงอิทธิพลมือใดๆ ถึงจะถูกขู่ทำร้าย ก็ไม่ยอมเสียความเป็นธรรม เพราะมีความรักธรรมย่องกว่าชีวิต
 คุณสมบัติทั้ง ๔ ประการนี้ คนทุกคนจำเป็นต้องมี มิฉะนั้นโลกนี้ก็จะวุ่นวาย โดยเฉพาะผู้นำทุกท่านจะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตนจนเต็มที่  “ผู้ใดไม่ละเมิดความยุติธรรม  เพราะความรักความชัง ความโง่เขลาและความกลัว  เกียรติคุณเกียรติยศ เกียรติศักดิ์  ของผู้นั้นย่อมเด่นดุจดวงจันทร์  เปล่งแสงสว่างในข้างขึ้นทุกค่ำคืน”

 (พุทธพจน์)

 ประพฤติตามธรรม คือ การประพฤติปฏิบัติตนตามธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ฝึกฝนอบรมตนเองให้คุณธรรมในตัวสูงขึ้นประณีตขึ้นตามลำดับ ได้แก่ การปฏิบัติตามหลักกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ดังนี้
 ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ นับตั้งแต่ฆ่าพ่อฆ่าแม่ ฆ่าผู้มีพระคุณ ฆ่าคนทั่วไป ฆ่าสัตว์ที่มีคุณ และฆ่าสัตว์อื่นๆ
 เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการให้ทุกคนรู้จักแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ไม่ใช่โดยวิธีฆ่าอีกฝ่ายหนึ่งเสีย เพราะการฆ่านั้น ผู้ฆ่าย่อมเกิดความทารุณโหดร้ายขึ้นในใจ ทำให้ใจเศร้าหมองและตนก็ต้องรับผลกรรมต่อไปเป็นการแก้ปัญหาซึ่งจะสร้าปัญหาอื่นๆ ต่อมาโดยไม่จบสิ้น ต้องคอยหวาดระแวงว่า ญาติพี่น้องเขาจะมาทำร้ายตอบ
 ๒. เว้นจากการลักทรัพย์ คือ ไม่แสวงหารายได้โดยทางทุจริต เช่น
 ลัก  = ขโมยเอาลับหลัง
 ฉก  = ชิงเอาซึ่งหน้า
 กรรโชก  = ขู่เอา
 ปล้น  = รวมห้วกันแย่งเอา
 ตู่  = เถียงเอา
 ฉ้อ  = โกงเอา
 หลอก  = ทำให้เขาหลงเชื่อแล้วให้ทรัพย์
 ลวง  = เบี่ยงบ่ายลวงเขา
 ปลอม  = ทำของที่ไม่จริง
 ตระบัด  = ปฏิเสธ
 เบียดบัง  = ซุกซ่อนเอาบางส่วน
 สับเปลี่ยน = แอบเปลี่ยนของ
 ลักลอบ  = แอบนำเข้าหรือออก
 ยักยอก  = เบียดบังเอาของในหน้าที่ตน
 เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการให้ทุกคนทำมาหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต ซึ่งจะทำให้ใช้ทรัพย์ได้เต็มอิ่ม ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงคืน
 ๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม คือ ไม่กระทำผิดในทางเพศไม่ลุอำนาจแก่ความกำหนัด เช่น การทำชู้กับสามีภรรยาคนอื่น การข่มขืน การฉุดคร่าอนาจาร
 เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องให้ทุกคนมีจิตใจสูง เคารพในสิทธิ์ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม
 ๔. เว้นจากการพูดเท็จ คือ ต้องไม่เจตนาพูดให้ผู้ฟังเข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งรวมถึงการทำเท็จให้คนอื่นหลงเชื่อรวม ๗ วิธีด้วยกัน คือ
 พูดปด  = โกหกจังๆ
 ทนสาบาน = ทำผิดแล้วไม่ยอมรับผิด
 ทำเล่ห์กระเท่ห์ = ทำทีอวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์ของตนเกินเหตุ
 มารยา  = เจ็บน้อยทำเป็นเจ็บมาก
 ทำเลศ  = ทำทีให้ผู้อื่นตีความคลาดเคลื่อนเอาเอง
 เสริมความ = เรื่องนิดเดียวทำให้เห็นเป็นเรื่องใหญ่
 อำความ  = เรื่องใหญ่ปิดบังไว้ให้เป็นเรื่องเล็กน้อย
 การเว้นจากพูดเท็จต่างๆเหล่านี้ หมายถึง
- ไม่ยอมพูดคำเท็จเพราะเหตุแห่งตน กลัวภัยจะมาถึงตน จึงโกหก
- ไม่ยอมพูดคำเท็จเพราะเหตุแห่งคนอื่น รักเขา อยากให้เขาได้ประโยชน์ จึงโกหกหรือเพราะเกลียดเขา อยากให้เขาเสียประโยชน์ จึงโกหก
- ไม่ยอมพูดเท็จ เพราะเห็นแก่อามิสสินบน เช่น อยากได้ทรัพย์สินเงินทองสิ่งของ จึงโกหก
 เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการให้ทุกคน มีความสัตย์จริงกล้าเผชิญหน้ากับความจริงเยี่ยงสุภาพชน ไม่หนีปัญหา หรือหาประโยชน์ใส่ตัวด้วยการพูดเท็จ
 ๕. เว้นจากการพูดส่อเสียด คือ ไม่เก็บความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น เก็บความข้างโน้นมาบอกข้างนี้ ด้วยเจตนาจะยุแหย่ให้เขาแตกกัน หรือให้เขารักตน กล่าวแต่ถ้อยคำอันแสดงคุณค่าของความสามัคคี
 เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการไม่ให้คนเราหาความชอบด้วยการประจบสอพลอ ไม่เป็นบ่างช่างยุ ทำให้หมู่คณะสงบสุข สามัคคี
 ๖. เว้นจากการพูดคำหยาบ คือ ไม่พูดคำซึ่งทำให้คนฟังเกินความระคายใจ ครูดหู และส่อว่าผู้พูดเองเป็นคนมีสกุลต่ำ ได้แก่
 คำด่า  = พูดเผ็ดร้อน แทงหัวใจ พูดกดให้ต่ำ
 คำประชด = พูดยกจนลอย
 คำกระทบ = พูดเปรียบเปรยให้เจ็บใจเมื่อได้คิด
 คำแดกดัน = พูดกระแทกกระทั้น
 คำสบถ  = พูดแช่งชักหักกระดูก
 คำหยาบโลน = พูดคำที่สังคมรังเกียจ
 คำอาฆาต = พูดให้หวาดกลัวว่าจะถูกทำร้าย
 เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการให้ทุกคนเป็นสุภาพชน รู้จักสำรวมวาจาของตน ไม่ก่อความระควยใจแก่ผู้อื่นด้วยคำพูด
 ๗. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ ไม่พูดเหลวไหล ไม่พูดพล่อยๆสักแต่ว่ามีปากอยากพูดก็พูดไปหาสาระมิได้ พูดแต่ถ้อยคำที่ควรฝังไว้ในใจมีหลักฐานมีที่อ้างอิง ถูกกาลเวลา มีประโยชน์
 เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการให้ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อถ้อยคำของตน
 ๘. ไม่โลภอยากได้ของเขา คือ ไม่เพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์ของคนอื่นในทางทุจริต
 เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการให้คนเราเคารพในสิทธิข้าวของของผู้อื่นมีจิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่านไหวกระเพื่อมไปเพราะความอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น ทำให้มีใจผ่องแผ้ว มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พร้อมที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม
 ๙. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา คือ ไม่ผูกใจเจ็บ ไม่คอดอาฆาตล้างแค้น ไม่จองเวร มีใจเบิกบาน แจ่มใสไม่ขุ่นมัว ไม่เกลื่อกลั่วด้วยโทสจริต
 ๑๐. ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม คือ ไม่คิดแย้งกับหลักธรรม ได้แก่ มีความเห็นที่เป็นสัมมาทิฐิ ๘ ประการคือ
      ๑. เห็นว่าการให้ทานดีจริง ควรทำ
      ๒. เห็นว่าการบูชาบุคคลที่ควรบูชาดีจริง ควรทำ
      ๓. เห็นว่าการต้อนรับแขกดีจริง ควรทำ
      ๔. เห็นว่ากฎแห่งกรรมมีจริง
      ๕. เห็นว่าโลกนี้โลกหน้ามีจริง
      ๖. เห็นว่าบิดามารดามีพระคุณต่อเราจริง
      ๗. เห็นว่านรกสวรรค์มีจริง
      ๘. เห็นว่าสมณพราหมณ์ที่หมดกิเลสแล้วมีจริง
 เจตนารมณ์ของศาสนาในเรื่องนี้ ต้องการให้คนเรามีพื้นฐานใจดี มีมาตรฐานความคิดที่ถูกต้อง ยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง มีวินิจฉัยถูกมีหลักการ มีแนวความคิดที่ถูกต้อง ส่งผลให้ความคิดในเรื่องอื่นถูกต้องตามไปด้วย  “เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง  ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น  หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว  เพิ่มพูนไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนอย่างสัมมาทิฐินี้เลย”

 (พุทธพจน์)

 คุณธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ คนทุกคนจำเป็นต้องฝึกให้มีในตนโดยเฉพาะผู้นำ ผู้ที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม จะต้องฝึกให้มีในตนอย่างเต็มที่ จึงจะทำงานได้ผลดี  “ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม  บุคคลใด หวังความสุข หวังความเป็นใหญ่  หวังความก้าวหน้า ต้องประพฤติธรรม” 

อานิสงส์การประพฤติธรรม
 ๑. เป็นมหากุศล
 ๒. เป็นผู้ไม่ประมาท
 ๓. เป็นผู้รักษาสัทธรรม
 ๔. เป็นผู้นำศาสนาให้เจริญ
 ๕. เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า
 ๖. ไม่ก่อเวรก่อภัยกับใครๆ
 ๗. เป็นผู้ให้อภัยแก่สรรพสัตว์
 ๘. เป็นผู้ดำเนินตามปฏิปาทาของนักปราชญ์
 ๙. สร้างความเจริญความสงบสุขแก่ตนเองและส่วนรวม
 ๑๐. เป็นผู้สร้างทางมนุษย์ สวรรค์ พรหม นิพพาน   ธมมจารี สุข เสติ  การประพฤติธรรม นำสุขมาให้

 (พุทธพจน์)



ขอบคุณ http://www.96rangjai.com
พระเครื่อง วัตถุมงคลของหลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ราคาถูกกว่าความเป็นจริงมาเกือบสามทศวรรษ ผู้ที่มองการณ์ไกลมองเห็นของดี ก็หยิบกันเกลี้ยงตลาด มาบัดนี้ราคาขยับแลแพงด้วยเหตุ มีคนพูดถึงกันมาก ก็หาตามกันแห่ ขอเตือนก่อนหมดราคาจะยิ่งแพง และไปไกลยิ่งกว่านี้ เขียนแจ้งไว้ หากเชื่อก็เสาะหาตามร้านที่เป็นสหพันธมิตรกัน ไม่ต้องเช่าหาที่ร้านในเว็บไซต์นี้ก็ได้ ด้วยแจ้งจากใจจริง ไม่ใช่ร้องเพื่อขายของในเว็บไซต์ จงรีบทำ....ขอเตือน

www.sitluangporchua.com


ออฟไลน์ wanghin66

  • Sr. Member
  • ****
  • ขอบคุณ
  • -ให้: 2471
  • -รับ: 2174
  • กระทู้: 1802
  • พลังน้ำใจ 2257
    • วังหิน66
 :-* :-* :-* :-* :-* :-* :-* :-* :-* :-* :-* :-* :-*

ออฟไลน์ ต้นบางบ่อ

  • Full Member
  • ***
  • ขอบคุณ
  • -ให้: 703
  • -รับ: 367
  • กระทู้: 684
  • พลังน้ำใจ 384
  • เราทุกคน .. ต่างมี "เวลา" เท่ากัน
 :-* :-* ขอบคุณครับ  :-* :-*
"สิ่งที่ทำให้เราหมดเรี่ยวหมดแรงนั้น หาใช่ภูผาที่ตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหน้าไม่ หากแต่เป็นทรายเม็ดเล็กๆ เม็ดหนึ่งในรองเท้าของเราเอง"

www.sitluangporchua.com



Share me

Digg  Facebook  SlashDot  Delicious  Technorati  Twitter  Google  Yahoo
Smf