ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติหลวงพ่อสด วัดหนองสะแก อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี  (อ่าน 3508 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Adk System Advertising

ออฟไลน์ ~<บอล อุทัย>~

  • Line ID 0863060344
  • เว็บมาสเตอร์
  • Hero Member
  • *****
  • ขอบคุณ
  • -ให้: 3400
  • -รับ: 4570
  • กระทู้: 4108
  • พลังน้ำใจ 4694
    • ร้านพระเครื่องบอล อุทัย (พระเครื่องหลวงพ่อเชื้อ)
ประวัติหลวงพ่อสด วัดหนองสะแก อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี



       หลวงพ่อสด  ธัมมธโร  เกิดเมื่อปี  2437  เป็นบุตรของพ่อพุ่ม  แม่ชื่น   พันธ์เขียน  เกิดที่บ้านทุ่งมะขามหวาน  ต.หนองนางนวล  อ.หนองฉาง  จ.อุทัยธานี  มีพี่น้องรวมกันทั้งหมด 6  คน คือ

   1.นายสด  พันธ์เขียน   หรือหลวงพ่อสด  ธัมมธโร
   2.นางเล็ก  พันธ์เขียน 
   3.นายทรัพย์  พันธ์เขียน
   4.นายสิน  พันธ์เขียน
   5.นางพู  พันธ์เขียน
   6.นายสะอาด  พันธ์เขียน


   ต่อมาพ่อแม่ได้ย้ายมาทำมาหากินอยู่ที่บ้านทุ่งปาจาน  หมู่ที่ 5 ต.ดงขวาง  อ.หนองขาหย่าง  จ.อุทัยธานี  ในปัจจุบัน  หลวงพ่อสด  จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดท่าโพธิ์  ต.ท่าโพธิ์  อ.หนองขาหย่าง  จ.อุทัยธานี  สมัยนั้นผู้ใดมีความรู้ดีจะเข้ามาเป็นครูสอนโรงเรียนประถมได้  แล้วจึงได้ไปสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนกุดจอก  กิ่ง อ.หนองมะโมง  จ.ชัยนาท  จนอายูครบ  20  ปี  ท่านจึงได้ลาออกมาอุปสมบทที่วัดหนองระแหงใต้  ในปี พ.ศ.2457  และได้จำพรรษาอยู่วัดหนองระแหงใต้  อยู่ 2 พรรษาจึงได้ย้ายมาสร้างวัดคูเมือง  แล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดคูเมืองจนมรณภาพในปี พ.ศ. 2516  รวมอายูได้ 79 ปี  59พรรษา ชีวิตของหลวงพ่อสด ท่านได้เล่าให้ฟังว่าตั้งแต่เด็กจนจำความได้  ท่านจะไม่ทำปาณาติบาต   คือ ไม่ฆ่าสัตว์ทุกชนิดและรักษาศีล 5 มาโดยตลอด  ในระหว่างที่ท่านดำรงสมณสารูป  ท่านได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระศาสดา  เช่นศึกษาพระธรรมวินัยและเผยแพร่พระพุทธศาสนา  อีกทั้งท่านยังชอบนั่งวิปัสสนากรรมฐาน   เจริญภาวนา    จนเข้าถึงหลักธรรม  ปกติท่านจะไม่พูดว่าใครในทางเสียหาย  เพราะถ้าพูดว่าใครคนนั้นจะเป็นไปตามคำพูดของท่านเสมอ  จนเป็นเรื่องลือกันว่าท่านมีวาจาสิทธิ์  ชื่อเสียงของท่านจึงเป็นที่รู้จักกัน  ทั่วทั้ง จ.อุทัยธานี  และจังหวัดใกล้เคียง  จนมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย  ส่วนเรื่องอภินิหารของหลวงพ่อสด  นั้นมากมายนักสุดที่จะกล่าวมา  ณ  ที่นี้


   เดิมชื่อบ้านหนองสะแก  ชาวบ้านหนองสะแกได้อพยพมาจากบ้านหนองระแหงใต้  เมื่อประมาณปี พ.ศ.2430  เพื่อมาจับจองที่ดินทำกิน  จนเกิดเป็นชุมชนมากขึ้น  ในสมัยนั้นการทำบุญ  ชาวบ้านจะต้องเดินทางไปทำบุญที่วัดหนองระแหงใต้ซึ่งอยู่ไกล  ชาวบ้านจึงคิดจัดสร้างวัดขึ้นและได้ไปปรึกษากับพระสด  หรือหลวงพ่อสดซึ่งอุปสมบทอยู่ที่วัดหนองระแหงใต้  และนิมนต์ท่านมาเป็นประธานในการจัดสร้าง  และจำพรรษาในปี พ.ศ.2459  โดยสร้างขึ้นเป็นที่พักสงฆ์  ขึ้นอยู่รอบหนองน้ำที่ล้อมรอบไปด้วยต้นสะแก(ปัจจุบันขุดเป็นสระน้ำอยู่ทางทิศเหนือของวัด) จึงเรียกกันติดปากว่า  วัดหนองสะแก 


   ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2463 ได้รับอนุญาตจากทางราชการประกาศใช้เป็นวัดชื่อว่า  วัดคูเมือง เหตุที่เรียกว่า  วัดคูเมือง  สันนิษฐานว่าวัดตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณคันคูเมือง  ซี่งเป็นเมืองเก่าสมัยทราวดี  ปัจจุบันเป็นที่รกร้างว่างเปล่า  ไม่สามารถถากถางได้และเป็นที่สาธารณประโยชน์  เจ้าอาวาสตามลำดับมีดังต่อไปนี้

   1.พระใบฎีกาสด  หรือ หลวงพ่อสด  ธมมธโร
   2.พระอาจารย์พง 
   3.พระอาจารย์ออม
   4.พระอาจารย์ประทุม
   5.พระอธิการทองดีรักขิตตญาโน
   6.พระอาจารย์มนัส   กิตติสาโร  รักษาการเจ้าอาวาสตั้งแต่  2531  จนถึงปัจจุบันได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่  พ.ศ.2537  จนถึงปัจจุบันต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครู  อุทิตกิตติสาร
   วัดคูเมือง(หนองสะแก)  ตั้งอยู่เลขที่ 7 บ้านหนองสะแก  หมู่ที่ 8  ต.หนองไผ่  อ.หนองขาหย่าง  จ.อุทัยธานี  สังกัดมหานิกาย  มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่  32  ไร่  1  งาน  10  ตารางวา



หลวงพ่อสด หนองสะแก

          หลวงพ่อท่านเป็นคนมีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็นอ่อนโยน มีเมตตา สงเคราะห์คนทุกชนทุกชั้น อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่ได้เลือกยากดีมีจน ตลอดชีวิตของท่านยังไม่มีลูกศิษย์ท่านคนไหนเห็นท่านแสดงอาการโกรธให้เห็นเลย เว้นเสียแต่อารมณ์เสียเล็กๆน้อยๆบ้างเป็นครั้งคราว ประเดี๋ยวท่านก็กลับมายิ้มละไมเหมือนเช่นเดิม
เรื่องการปฏิสันถารพูดคุยนั้น หลวงพ่อท่านเป็นคนที่ระมัดระวังคำพูดเป็นที่สุด มักจะพูดส่งเสริมไปในทางที่ดี เป็นที่เล่าขานกันว่าหลวงพ่อท่านเป็นผู้มีวาจาสิทธิ์เป็นสำคัญ คำพูดคำจาของท่านจะอ่อนหวานน่าฟังเป็นยิ่งนัก ท่านจะเรียกแทนตัวท่านว่า “ฉัน”บ้าง “อาตมา”บ้าง และลงท้ายประโยคด้วยคำว่า “จ๊ะ”เสมอ และมีปกติอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นที่สุด ผู้ที่มาแสวงหาของศักดิ์สิทธิ์ท่านก็มักจะโบ้ยให้ไปหาหลวงพ่อพลอยสิ หลวงพ่อจูสิ

          หลวงพ่อท่านถือการครองผ้าสามผืนอยู่เป็นประจำสบง จีวร สังฆาฏิ ไม่เคยออกจากตัวท่าน เว้นเสียแต่เมื่อท่านจะพักผ่อนอิริยาบถบ้างเล็กๆน้อยๆเท่านั้น ท่านตื่นแต่เช้าตรู่ ไหว้พระสวดมนต์ของท่านเสร็จแล้วทุกตี 5 ท่านจะตีระฆังเป็นสัญญาณปลุกพระลูกวัดให้ทำวัตรสวดมนต์

 
          หลังจากฉันเพลแล้ว หลวงพ่อจะเข้าพักผ่อนในกุฏิของท่าน และท่านจะสั่งห้ามมิให้ใครเข้ามารบกวนเป็นอันขาด ซึ่งท่านจะใช้เวลาที่อยู่ในกุฏินานถึงคราวละ ๓ - ๔ ชั่วโมงเลยทีเดียว เนื่องจากช่วงเที่ยงจนถึงบ่ายๆเป็นช่วงที่ในกุฏิของท่านจะมีอากาศร้อนอบอ้าว จึงเข้าใจว่าไม่น่าจะเป็นการจำวัด ท่านคงจะใช้ช่วงเวลาดังกล่าวเจริญกรรมฐาน หรือทำอะไรที่เป็นการเฉพาะตนเสียมากกว่า
การปลุกเสกเลขยันต์ของท่านท่านจะทำของท่านคนเดียวภายในกุฏิ ส่วนใครที่จะมารับของไปท่านก็จะเสกให้อีกครั้งเสมอ ท่านเสกท่านทำด้วยความประณีตตั้งใจทุกครั้ง 


           งานวัดที่มีการละเล่นต่างๆมาช่วยงานท่านกับอย่างเนืองแน่น โดยเฉพาะลิเกต่างมากันมากชนิดที่ว่าสร้างเวทีให้ไม่ทัน คณะลิเกที่มาเหล่านั้นไม่ได้คิดค่าจ้างตอบแทนแต่อย่างใด ปารถนาแต่เพียงแป้งเสกของหลวงพ่อท่านเท่านั้น แป้งเสกของหลวงพ่อมีชื่อมาก เจ๊กในตลาดอุทัยฯขายของไม่ดี หลวงพ่อท่านให้ผ้ายันต์กับแป้งเสกพร้อมทั้งวิธีใช้ให้ไป ปรากฏว่า ขายดีขึ้นมาอย่างผิดหูผิดตาจนกระทั่งก่อร่างสร้างตัวได้อย่างมั่นคง
ลิเกที่มาทำการแสดงในงานวัดนั้น มีอยู่คณะหนึ่งแสดงเป็นเทวดาจึงต้องโรยตัวลงมาจากต้นไม้ให้เหมือนกับเทวดาเหาะลงมาจากสวรรค์ แล้วเกิดพลาดท่าตกจากยอดไม้สูงกระแทกลงพื้นอย่างแรง ก็ไม่ปรากฏว่าจะได้รับบาดเจ็บแต่อย่างไรเลย ยังลุกขึ้นมาปัดฝุ่นแล้วยังคงทำการแสดงต่อไปได้ตามปกติ


           สมัยก่อนงานวัดหนองสะแกเป็นงานวัดที่ใหญ่ที่สุดในละแวกนี้ เพราะมีการละเล่นและมหรสพต่างๆมากมาย ถึงแม้จะมีปริมาณคนที่มาท่องเที่ยวมากแค่ไหน แต่ก็ปรากฏว่าตลอดงานเหตุการณ์เป็นปกติเรียบร้อยดี ไม่มีนักเลงหรืออันธพาลก๊กไหนก่อเรื่อง ด้วยเกรงในบารมีท่าน ในสมัยนั้นหากวัดไหนจะจัดงานใหญ่ก็มักจะนิมนต์ท่านหรือไม่ก็ หลวงปู่พลอย วัดห้วยขานาง หลวงพ่อจู วัดดอนกลอย เพราะชาวบ้านให้ความเคารพนับถือและเกรงบารมีประกาศิตของหลวงพ่อแต่ละท่านเป็นนักหนา นักเลงในสมัยนั้นไม่ค่อยยอมลงต่อตำรวจ แต่ถ้าเป็นหลวงพ่อแล้ว เพียงแค่ท่านฉายไฟฉายกราดออกไป แล้วโบกมือบอก “นั่งลง นั่งลงกันซิลูก”ฝูงชนเหล่านั้นก็ราวกับว่าต้นข้าวที่ถูกไม้นาบ นั่งราบกันไปตามแสงไฟอย่างสงบเรียบร้อย


           มีอยู่คราวหนึ่งพวกโจรใจบาปบุกปล้นเงินวัดในตู้บริจาคเพราะในสมัยนั้นวัดหนองสะแก ถือว่าเป็นวัดที่มีลูกศิษย์ลูกหาผู้อุปถัมภ์ค้ำจุนมากมาย ทำให้เงินบริจาคมีมาก พวกโจรมาด้วยกัน ๕ คนพร้อมอาวุธปืน ๒ กระบอก พวกโจรมันยิงท่านไม่ออกก็เลยใช้ด้ามปืนตีหลวงพ่อ ส่วนหลวงพ่อก็ใช้มีดหมอที่วางอยู่บริเวณที่ท่านนั่งรับแขก ริดเอาปืนออกจากมือโจรได้ไว้ทั้ง ๒ กระบอก


           มีญาติโยมท่านหนึ่งมาขอให้หลวงพ่อดูว่าพ่อของเขาที่กำลังป่วยหนักจะมีทางรอดหรือไม่ หลวงพ่อท่านใช้วิธีแปลกๆกล่าวคือท่านนั่งขัดสมาธิแล้วใช้มือทั้ง ๒ ข้าง ประสานเข้าหากัน โดยใช้นิ้วมือสอดเข้าไปในช่องระหว่างนิ้ว คล้ายกับนั่งทำสมาธิ แล้วให้ผู้เป็นลูกซึ่งเป็นชายฉกรรจ์ ๒ คนช่วยกันดึงมือของหลวงพ่อให้ออกจากกัน คล้ายกับว่าเป็นการเสี่ยงทายคือถ้าสามารถดึงมือหลวงพ่อให้แยกออกจากกันได้ก็แสดงรอด แต่ถ้าดึงไม่ออกก็แสดงว่าถึงเวลาของเขาแล้วหมดวิธีการช่วยเหลือ เป็นเรื่องแปลกที่ชายฉกรรจ์ทั้ง ๒ คนถึงแม้จะออกแรงดึงสักเพียงไหนก็ไม่สามารถดึงมือเล็กๆของคนแก่อย่างหลวงพ่อออกจากกันได้ เป็นอันว่าพ่อของบุคคลทั้ง ๒ คงถึงเวลาสิ้นบุญเพียงเท่านั้น และก็ปรากฏว่าเป็นจริงตามการเสี่ยงทายของหลวงพ่อไม่มีผิดเพี้ยน


          บางวันในขณะที่พักผ่อนกันอยู่ จู่ๆหลวงพ่อก็เรียกพระลูกวัดให้มาช่วยกันจัดเตรียมสถานที่คล้ายกับว่าจะมีแขกผู้ใหญ่มาเยือน แต่เมื่อทำการจัดเตรียมตามที่หลวงพ่อสั่งเสร็จแล้วไม่นานนักก็ปรากฏว่ามีคณะศรัทธาจากแดนไกลบ้าง พวกคหบดีบ้าง หรือไม่ก็เป็นพระผู้ใหญ่บ้างเดินทางมาหาท่านจริงๆ โดยไม่ได้มีการนัดหมายล่วงหน้าไว้แต่อย่างใด เป็นคุณธรรมที่น่าอัศจรรย์ใจอีกประการหนึ่งของท่าน


          หลวงพ่อท่านไม่ชอบพวกขี้เหล้าเมายา พวกผีการพนัน และอบายมุขทุกชนิดท่านมักจะกำชับสั่งสอนชาวบ้านอยู่เสมอว่าถ้าปารถนาความสุข ความเจริญแล้วอย่าเข้าไปข้องแวะกับสิ่งเหล่านี้เป็นอันขาด การแจกวัตถุมงคลของท่านก็มีกุศโลบายในด้านการส่งเสริมจริยธรรมไปในตัวอีกด้วย เพราะทุกครั้งที่ท่านแจกพระของท่านออกไปก็จะมีเงื่อนไขเป็นข้อห้ามที่เกี่ยวกับศีลธรรมและอบายมุขต่างๆนั่นเอง


          เวลาพระจะมาสึก ในการทำน้ำมนต์ในแต่ละครั้งของท่าน ท่านจะตั้งใจทำให้ทีละองค์ เสร็จไปองค์หนึ่งท่านก็จะทำให้กับองค์ใหม่อีกครั้ง ระยะเวลาในการทำแต่ละครั้งร่วมครึ่งชั่วโมงเลยทีเดียว เวลารดท่านจะให้ตั้งใจอธิษฐานให้ดีปารถนาอย่างใดก็ให้เอาเสียอย่างหนึ่ง ซึ่งก็ปรากฎผลว่าเมื่อสึกหาลาเพศไปแล้วก็สมประสงค์ตามคำอธิษฐานทุกท่านไป ด้วยเหตุนี้ในสมัยนั้นไม่ว่าใครจะบวชกับอุปัฌชาย์องค์ใด แต่ว่าเมื่อถึงเวลาสึกก็มักจะมาสึกกับหลวงพ่อสด วัดหนองสะแก และไม่ใช่แค่เพียงในพื้นที่จังหวัดอุทัยฯ ชัยนาท เท่านั้น พื้นที่รอบนอกที่ได้ยินกิตติศัพท์ของท่านก็มักจะด้นดั้นมาสึกกับท่านด้วย ถึงกับต้องมานอนพักค้างอ้างแรมเพื่อที่จะรอฤกษ์สึกก็มีอยู่ไม่น้อยในแต่ละวัน ท่านจึงกลายเป็นผู้ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมายในจังหวัดต่างๆ
พระเครื่อง วัตถุมงคลของหลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ราคาถูกกว่าความเป็นจริงมาเกือบสามทศวรรษ ผู้ที่มองการณ์ไกลมองเห็นของดี ก็หยิบกันเกลี้ยงตลาด มาบัดนี้ราคาขยับแลแพงด้วยเหตุ มีคนพูดถึงกันมาก ก็หาตามกันแห่ ขอเตือนก่อนหมดราคาจะยิ่งแพง และไปไกลยิ่งกว่านี้ เขียนแจ้งไว้ หากเชื่อก็เสาะหาตามร้านที่เป็นสหพันธมิตรกัน ไม่ต้องเช่าหาที่ร้านในเว็บไซต์นี้ก็ได้ ด้วยแจ้งจากใจจริง ไม่ใช่ร้องเพื่อขายของในเว็บไซต์ จงรีบทำ....ขอเตือน

www.sitluangporchua.com


ออฟไลน์ SODA 405

  • Sr. Member
  • ****
  • ขอบคุณ
  • -ให้: 1385
  • -รับ: 417
  • กระทู้: 1705
  • พลังน้ำใจ 456
  • ....081 785 8755


        ....ขอบคุณครับ!

www.sitluangporchua.com



Share me

Digg  Facebook  SlashDot  Delicious  Technorati  Twitter  Google  Yahoo
Smf