www.sitluangporchua.com

โชว์พระเครื่อง วัตถุมงคลทั่วไป => โชว์พระเครื่องวัตถุมงคล วัดช้าง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก => ข้อความที่เริ่มโดย: ต้นบ้านนา ที่ เมษายน 04, 2014, 10:39:06 am

หัวข้อ: พระครูภัทรกิจโกศล ภัททญาโณ หลวงพ่อภู อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างรูปที่ ๘
เริ่มหัวข้อโดย: ต้นบ้านนา ที่ เมษายน 04, 2014, 10:39:06 am
พระครูภัทรกิจโกศล  ภัททญาโณ  หลวงพ่อภู  วัดช้าง  อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านนา 
กำเนิดชาติภูมิ
หลวงพ่อภูหรือหลวงพ่อพระครูภัทรกิจโกศล นามเดิม ภู แก้วกำเหนิด โยมบิดาชื่อ ห่วงหรือแดง โยมมารด่ชื่อบุตร นามสกุล แก้วกำเหนิด เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2455 ปีชวด ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 9 ที่บ้านวังบัว ตำบลพิกุลออก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ในตะ-ลชาวนา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6 คน และมีพี่น้องต่างมารดาอีก 2 คน

การศึกษาเล่าเรียนในวัยเยาว์
การศึกษาของหลวงพ่อภู ในวัยเยาว์ เมื่ออายุของท่านได้ 8 ขวบ ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนอยู่กับหลวงน้าชื่น บำรุงกิจ ที่วัดทองย้อย ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา พอขึ้นชั้น ป. 3 ช่วงนั้นท่านมักจะไม่สนใจเล่าเรียนหนังสือ ชอบหนีเรียนอยู่เป็นประจำ การเรียนในชั้นนี้จึงเป็นต้องเลิกล้มไป เรียนไม่จบ แต่ท่านกลับไปสนใจเรียนภาษาขอม และเรียนสวดพระมาลัยอยู่กับท่านพระอาจารย์แก่น วัดช้าง หลังจากท่านได้ย้ายมาอยู่เป็นเด็กวัดช้างกับท่าน อาจารย์แก่น วัดช้างแล้ว เวลาผ่านไปปี พ.ศ. 2468 โยมมารดาของท่านได้ถึงแก่กรรม โยมบิดาของท่านจึงให้ท่านบวชเป็นสามเณรหรือที่เรียกกันว่า บวชหน้าศพ เพื่อเป็นการอุสิศส่วนบุญส่วนกุศลผลบุญให้กับโยมมารดา ผู้เป็นบุพการีที่ล่วงลับไป

อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
ในระหว่างการบวชเป็นสามเณรอยู่นั้น มาวันนึงท่านคิดถึงโยมบิดาและเป็นห่วงโยมบิดาของท่านเป็นอย่างมาก จึงได้สึกจากการเป็นสามเณรมาช่วยโยมบิดาทำนาอยู่ 2 ปี เมื่อมีอายุครบการเกณฑ์ทหาร ท่านเข้ารับการตรวจเลือกการเป็นทหาร ปรากฏว่าท่านไม่ถูกการเกณฑ์ทหาร หลังจากนั้นโยมบิดาของท่านจึงให้บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา

ทำการอุปสมบท
ณ พัทธสีมาวัดช้าง ตำบลพิกุลออก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2477 โดยมีหลวงพ่อเกิด วัดสะพาน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการสินธุ์ วัดกุฏิเตี้ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสงกรานต์ วัดวิหารขาว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ภัททญาโณ และได้จำพรรษาที่วัดช้างตลอดมา

การศึกษาพระธรรมวินัยและการปฏิบัติตนของท่าน
นับตั้งแต่พรรษาแรกที่ท่านได้อุปสมบท ท่านเป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียร มีความมานะอดทน การปฏิบัติตนอยู่ในสมณเพศนั้น ก็มิได้มีมลทิลด่างพร้อยแม้แต่ประการใด ท่านเป็นผู้ที่มีสภาพจิตที่เข้มแข็งแน่วแน่ กระแสจิตที่ฝึกฝนมาแล้วเป็นอย่างดี เกิดเป็นสมาธิจิตอันมั่นคงเมื่อจิตเป็นสมาธิปัญยาก็เกิดขึ้น การเรียนธรรมวินัยจึงไม่ไช่เรื่องยากยิ่งสำหรับท่าน ท่านสามารถสอบไล่นักธรรม ตั้งแต่นักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท นักธรรมชั้นเอก อันเป็นที่สูงสุด ได้ในท้องสนามหลวงวัดทองย้อยเมื่อปี 2489

หลวงพ่อภู นับว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อเสียงโด่งดังรูปหนึ่ง ของจังหวัดนครนายก ท่านมีพลานุภาพทางกระแสจิตเป็นพิเศษ มีอำนาจทางจิตที่แข็งแกร่งและมั่นคงเกิดพลังภายในที่เข็มแข็งเหนือกว่ากระแสจิตธรรมดา สมาธิจิตอันสูงส่งที่ทรงพลังของท่าน เพราะท่านได้เพ็ญเพียรฝึกฝนมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานจากหลาย ๆ อาจารย์ในอดีต ตั้งแต่การเดินธุดงค์เมื่อครั้งยังเป็นสามเณรอยู่ก็ดี และเมื่ออุปสมบทแล้วก็ดี ท่านก็มาคิดว่าท่านยังเอาดีอะไรไม่ได้สักอย่างเลย ดังนั้นในทุก ๆ ปี เมื่อสอบไล่นักธรรมแล้วในราวเดือนธันวาคมของทุกปี ท่านจะต้องเตรียมตัวออกเดินธุดงค์

ในครั้งแรกการออกเดินธุดงค์
ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อนกและหลวงพ่อเหลือ ต่อมาเมื่อหลวงพ่อนกและหลวงพ่อเหลือมรณภาพลง ท่านได้ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อพร้อม วัดหนองหมู จังหวัดสระบุรี และต่อมาท่านได้ออกเดินธุดงค์ไปพร้อมกับท่าน พระอาจารย์ทราย (แห่งเมืองร้อยเอ็ด) และอีกประการที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ท่านเป็นศิษย์เอกก้นกุฏิของหลวงพ่อเกิด วัดสะพาน ผู้เป็นอุปัชฌาย์ของท่านและท่านยังได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมมาแล้วเป็นอย่างดี จึงเกิดความเชี่ยวชาญมากพอควร และมิไช่ว่าท่านจะมีวิทยาคมขลังแ-่างเดียว ท่านมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ เป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั่วไป จะเป็นหนุ่มสาว ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้ที่จะแต่งงาน ปลูกบ้าน ขึ้นบ้านใหม่ หรือบวชนาค ต่างก็พากันมาหาท่านกระทำการพอธีการทางนี้อยู่เสมอโดยมิได้ขาด

ในด้านพระเครื่อง - เครื่องรางของขลัง
ที่เป็นวัตถุมงคลของท่าน ท่านสร้างขึ้นมีหลายรูปแบบและหลายรุ่น แต่ละรุ่นก็ได้เข้าพิธีพุทธาพิเษกมาแล้วเป็นอย่างดี เช่น รูปเหรียญพระของท่านก็มีอยู่หลายรุ่น พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ และอื่น ๆ อีกหลายรุ่นเช่นเดียวกัน แต่ไม่ว่ารุ่นใหนรุ่นใดรุ่นหนึ่งผู้ที่ได้รับเอาไปบูชา ต่างก็เห็นความศักดิ์สิทธิ์และประสบการณ์ จึงเป็นที่นิยมและเสาะแสวงหาของบรรดาเซียนพระหรือผู้ที่ชอบและนับถือท่านเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่เลื่องลือขจรขจายไปไกลหลายจังหวัด ในวันหนึ่ง ๆ ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างก็พากันมาหาท่าน ไม่เว้นแต่ละวันทั้งใกล้และไกล

เวลาได้ผ่านไปจะเห็นได้ว่า หลวงพ่อภูท่านต้องตรากตรำการงานภารกิจหน้าที่ ที่ต้องกระทำเป็นประจำอยู่เสมอ ครั้นต่อมาอาการป่วยของท่านกำเริบและทรุดหนัก จนมาถึงวันที่ ๑๕ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เวลา ๐๑.๑๐ น. ก็ถึงการเวลามรณภาพของท่านลงด้วยอาการอย่างสงบ ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว รวมสิริอายุของท่านได้ ๗๘ ปี กับ ๑๑ เดือน ๕๖ พรรษา